ที่มา : https://historydo.blogspot.com/2017/09/blog-post_6.html
ที่มา : https://historydo.blogspot.com/2017/09/blog-post_6.html
ที่มา :https://www.finearts.go.th/sawakhavoranayokmuseum/view
ประวัติศาสตร์มีหลายหลายความหมายตามที่นักประวัติศาสตร์จะนิยามตามทัศนะหรือฐานคติของตน ซึ่งเมื่อนำมาสรุปแล้วอาจสามารถแบ่งได้ 2 ความหมายหลัก ได้แก่
1. ประวัติศาสตร์ คือ เรื่องราวความเป็นจริงในอดีตทั้งหมด 2. ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต จากที่กล่าวมาประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องของการศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต โดยนักประวัติศาสตร์จะนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เช่น เรื่องเล่าจากความทรงจำ ตำนาน นิทาน และศิลาจารึก เป็นต้น นำมาวิเคราะห์ให้ค่า พิจารณาความน่าเชื่อ การตีความ และการนำความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาช่วยในการวิเคราะห์/อธิบายเรื่องราวในอดีต เช่น โบราณคดี และมานุษยวิทยา จากนั้นจึงได้ชุดความรู้ชุดหนึ่งแล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวหรือประวัติศาสตร์นั้นเอง ดังนั้น ประวัติศาสตร์จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การรู้เรื่องราวความเป็นจริงในอดีตทั้งหมด
ที่มา : https://news.trueid.net/detail/3v2A2LKYKJJZ
การระบุเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ต่าง ๆ มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อย่างมาก วิธีการนับช่วงเวลาจึงถูกกำหนดขึ้น เพื่อที่จะสามารถระบุวัน เดือน ปี ที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง แม่นยำ และตรงตามหลักสากลการแบ่งช่วงเวลา ต่าง ๆ มีดังนี้
หมายถึง ช่วงเวลา 10 ปี นับปีที่ ขึ้นต้นด้วยเลข 0 เป็นปีแรกของทศวรรษและ นับสิ้นสุดที่เลข 9
หมายถึง ช่วงเวลา 100 ปี นับปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นปีแรกของศตวรรษจนถึงปีที่ 100 เช่น ค.ศ. 1801 ถึง ค.ศ. 1900 เรียกว่า คริสต์ศตวรรษที่ 19
หมายถึง ช่วงเวลา 1,000 ปี นับปีที่ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นปีแรกของสหัสวรรษจนถึง 1000 เช่น ค.ศ. 2001 ถึงค.ศ. 3000 เรียกว่า สหัสวรรษที่ 3 ของคริสต์ศักราช
ที่มา : หนังสือเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ใบงานที่ 1 ช่วงเวลา ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ
ใบงานที่ 2 การวิเคราะห์ ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ